เทคนิคการฉีดพ่นสารทำทุเรียนนอกฤดูกาล

เทคนิคการฉีดพ่นสารทำทุเรียนนอกฤดู

     การทำทุเรียนนอกฤดูจำเป็นต้องเลือกต้นทุเรียนที่เคยให้ผลผลิตแบบปกติมาแล้วอย่างน้อย 8 – 15 ปี หรือมีทรงพุ่มขนาด 6 เมตร ถึง 12 เมตร นอกจากนี้ยังต้องมีการบำรุงต้นรักษาดินเพื่อให้ต้นสะสมอาหารไว้ให้เพียงต่อการออกผลและแข็งแรงปราศจากโรคภัย จนกระทั่งทุเรียนเข้าสู่ช่วงเพสลาดครั้งที่ 2 อย่างน้อย 70% และสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการติดตา(ความชื้นในดินน้อยหรือฝนทิ้งช่วง 7 – 10 วัน) เราจึงจะมาทำการพ่นสารพาโคลบิวทราโซลเพื่อทำการยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นทุเรียน

การพ่นสารพาโคลบิวทราโซลนี่มีเทคนิคการฉีดพ่นดังนี้

ฉีดพ่นให้ถูกกิ่งอ่อนมากที่สุด : เนื่องจากกิ่งอ่อนเป็นส่วนที่ให้สารพาโคลบิวทราโซลซึมเข้าไปได้ดี เคลื่อนย้ายและทำปฏิกิริยากับตาใบกับยอดอ่อนได้

ใช้ความพิถีพิถันในการฉีดพ่น : เนื่องจากการใช้สารพาโคลบิวทราโซลในการยับยั้งสารจิบเบอเรลลินไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนออกมา ส่งเสริมให้ชาวสวนสามารถบังคับให้เกิดทุเรียนนอกฤดูได้ เช่นนั้นแล้วในการฉีดพ่นจึงต้องฉีดพ่นให้สม่ำเสมอเพื่อที่จะได้เกิดการติดตาดอกทั้งต้น โดยฉีดให้เป็นฝอยทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่ม หากพื้นที่ปลูกมีฝนตกชุกจำเป็นต้องฉีดพ่นในตัวสารมีเวลาซึมเข้าไปอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และต้องมีการผสมสารจับใบเข้าไปทุกครั้งเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะกับใบทุเรียนและซึมเข้าไปในที่สุด

ฉีดพ่นซ้ำ : หลังการฉีดพ่นครั้งแรกแล้วชาวสวนทุเรียนควรเดินสำรวจต้นทุเรียนว่ามีต้นไหนที่เกิดผลิใบอ่อนแทนที่จะผลิตาดอกหรือติดช่อดอกให้เราหรือไม่ หากพบนั่นหมายความว่าความเข้มข้นที่ฉีดไปครั้งแรกนั้นไม่เพียงพอ ให้ทำการฉีดพ่นซ้ำภายใน 1 – 2 สัปดาห์ โดยที่ใช้ความเข้มข้นครึ่งหนึ่งของที่ใช้ฉีดพ่นในครั้งแรก

     นี่คือเทคนิคดีๆ ในการทำทุเรียนนอกฤดูนอกจากการผสมสารพาโคลบิวทราโซลกับน้ำสะอาดแล้วเดินฉีดพ่นอย่างจับต้นชนปลายไม่ถูก หรือแม้แต่การติดผลที่อาจไม่เป็นไปอย่างใจนึกหากว่าเรายังให้ความใส่ใจไม่มากพอ ซึ่งเมื่อได้เทคนิคในการฉีดสารทำทุเรียนนอกฤดูกันแบบนี้แล้วผลผลิตที่จะได้ตามมาย่อมมากกว่าตอนที่เราไม่รู้อะไรแน่นอน