Search
Close this search box.

Category: Durian Knowledge

ดูแลทุเรียนให้เก็บผลผลิตได้นานๆ
Durian Knowledge

การดูแลทุเรียนเก็บผลผลิตได้นานๆ

การดูแลทุเรียนเก็บผลผลิตได้นาน      การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นทุเรียนได้แล้วไม่ใช่ชัยชนะที่ชาวเกษตรกรควรชะล่าใจ เพราะขั้นต้อนหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วและเข้าสู่ระยะพักฟื้นต้นนั้นสำคัญ ยิ่งทุเรียนให้ผลผลิตที่มากเท่าไหร่ย่อมหมายถึงการดูแลใส่ใจที่ต้องมากขึ้นเนื่องจากต้นขาดสารอาหารไปมากเช่นกัน ฉะนั้นแล้ววิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ทุเรียนยังออกผลให้เราไปอีกยาวนานมีดังนี้1. ตัดแต่งกิ่งเป็นโรค กิ่งแขนง กิ่งที่ไม่ได้ขนาดทันที รวมถึงตัดเอาขั้วทุเรียนที่ยังคาต้นอยู่ออกด้วย เสร็จแล้วทาปิดแผลที่ตัดด้วยสารกันเชื้อราหรือปูนแดงที่ไว้กินกับหมาก2. ดูแลทำความสะอาดพื้นที่ไม่ให้มีวัชพืชซึ่งจะกลายเป็นแหล่งสะสมโรค แถมยังคอยแย่งอาหารของทุเรียนเราอีกด้วย3. ปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมทั้งการใช้สารปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย มีธาตุอาหารเหมาะสม ควรเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินร่วมด้วยซึ่งอาจจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกตามที่เห็นสมควร4. ดูแลและกำจัดโรคแมลงที่อาจจะมารบกวน เช่น โรครากเน่าโคน เพลี้ยไก่แจ้ หนอน เป็นต้น

Read More »
เลือกพื้นที่สำหรับปลูกทุเรียน
Durian Knowledge

การเลือกพื้นที่สำหรับปลูกทุเรียน

การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียน      ต้นไม้แต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน อย่างเช่น กาแฟ องุ่น หรือสตอร์เบอร์รี่ชอบพื้นที่ที่มีอากาศเย็น เพราะแบบนั้นจึงมักพบเห็นว่านิยมปลูกที่ภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบางพื้นที่ เป็นต้น เพราะแบบนั้นแล้วทุเรียนก็มีความชอบต่อพื้นที่บางแห่ง ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้ทุเรียนสามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่สูง  สภาพพื้นที่แบบไหนที่เหมาะสมที่จะปลูกทุเรียน 1. มีแหล่งน้ำจืดที่เพียงพอต่อการปลูกทุเรียนตลอดทั้งปี 2. อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 75-85 เปอร์เซ็น 3. ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินที่สามารถระบายน้ำได้ดีอย่างดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย

Read More »
เชื้อราไฟทอปธอร่า
Durian Knowledge

ไฟทอปธอร่าเชื้อร้ายก่อโรคในทุเรียน

ไฟทอปธอร่า เชื้อร้ายก่อโรคในทุเรียน       ไฟทอปธอร่า เชื้อราที่สร้างความเสียหายให้กับต้นทุเรียนเป็นอย่างมาก เพราะเชื้อราชนิดนี้ไม่เพียงก่อให้เกิดโรคเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่มันสามารถสร้างความเสียหายให้ได้ตั้งแต่ราก ลำต้น กิ่ง ใบ และผลเลยทีเดียว ซึ่งชื่อโรคในภาษาบ้านเราที่รู้จักกันดีนั้นคือ โรครากเน่าโคนเน่า      Phytophthora spp. เชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินและจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นสูง หรืออาจเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และมันยังสามารถพักฟื้นตัวเองในช่วงที่อากาศไม่เหมาะสมกับการเจริญพันธุ์ได้อีกด้วย อย่างเช่นช่วงที่มีความแห้งแล้ง โดยส่วนใหญ่เชื้อมักจะแพร่ระบาดจากทางรากของต้นทุเรียนไปตามท่อลำเอียงกระจายสู่ส่วนอื่นๆ อาการที่เป็น

Read More »