กำมะถัน…อีกหนึ่งธาตุอาหารรองของพืช ที่ถูกจัดให้เป็นเช่นนั้นนั่นเพราะธาตุกำมะถันพืชต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้!!
ที่ขาดไม่ได้นั่นเพราะกำมะถันเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารอาหารต่างๆ ในพืช ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน ไวตามิน เป็นต้น ซึ่งใช้น้อยแต่หากขาดไปอาจทำให้สารหล่อเลี้ยงเหล่านั้นไม่เกิดเลยทีเดียว
อาการขาดกำมะถันมีดังนี้
• การเจริญเติบโตหรือขนาดใบเล็กลง
• ใบมีสีเหลืองซีดจนถึงขาวทั้งใบ
• หากขาดรุนแรงมากอาจก่อให้เกิดอาการเหี่ยวและลำต้นเล็กลงได้
ซึ่งสภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจะขาดแร่ธาตุนี้คือพื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุน้อย อย่างเช่น พื้นที่แห้งแล้ง พื้นที่ที่มีฝนตกปานกลางจนถึงหนักมาก
วิธีแก้อาการขาดธาตุกำมะถันทำได้ ดังนี้
เนื่องจากพื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุอยู่น้อยเสี่ยงทำให้เกิดการขาดธาตุตัวนี้ ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือการใช้สารปรับปรุงดินที่จะเข้าไปช่วยในการย่อยสลายของแร่ธาตุต่างๆ ในดิน
ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วเกษตรกรหลายรายเลือกที่จะเผาต้นพืชเดิมเผื่อที่จะได้ปลูกต้นใหม่ อย่างเช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ดินถูกทำลาย รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ ที่พืชควรได้รับ ไม่เพียงเท่านั้นในต้นพืชเดิมมักมีแร่ธาตุหลงเหลืออยู่ไม่มากก็น้อย เพราะงั้นการเผาทำลายจึงเป็นการกระที่ทำให้แร่ธาตุสูญหายไปเฉยๆ อีกด้วย เช่นนั้นแล้ววิธีที่ดีที่สุดจึงควรไถกลบให้จุลินทรีย์ในดินทำหน้าที่ย่อยสลายแร่ธาตุเหล่านั้นให้กลับคืนสู่ดินรอฤดูปลูกใหม่ให้พืชดูดไปใช้นั่นเอง
การใส่ปุ๋ยประเภทโปตัสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟต หรือแอมโมเนียมซัลเฟต หรือแอมโมเนียมไธโอลีนซัลเฟต ซึ่งในปุ๋ยจำพวกนี้นอกจากจะมีธาตุกำมะถันแล้วยังมีปุ๋ยตัวอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย ถือได้ว่าบำรุงหนึ่งได้มาเยอะเลยทีเดียว แต่กระนั้นก็ควรเลือกใช้ให้พอเหมาะ เพื่อที่จะไม่เผลอไปทำให้ธาตุอื่นมีมากเกินเกณฑ์นั่นเองค่ะ
First Organic Farm Co.,Ltd.